คลังสินค้า สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจของคุณ
หัวข้อ
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจัดจำหน่ายโดยทั่วไปจำเป็นต้องมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เตรียมพร้อมเอาไว้ เพื่อรอจำหน่ายออกไปยังลูกค้า โดยอาจมีทั้งรูปแบบการผลิตสินค้าแล้วจัดส่งทันที และผลิตหรือสั่งซื้อเพื่อสต๊อกเอาไว้ ก่อนกระจายสินค้าอีกทอดหนึ่ง ซึ่งในการเก็บรักษาสินค้าเหล่านี้ ธุรกิจย่อมต้องใช้งาน คลังสินค้า
ในบทความนี้ ชวนมาทำความรู้จักว่า คลังสินค้า คืออะไร มีประโยชน์หรือสำคัญต่อธุรกิจในด้านใด แล้วมีกี่ประเภทให้เลือกใช้งาน
คลังสินค้า คืออะไร
คลังสินค้า (Warehouse) หมายถึง พื้นที่หรือสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้า วัตถุดิบ หรือชิ้นงานต่าง ๆ ก่อนที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า บุคคล พันธมิตรทางธุรกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไป คลังสินค้า ทำหน้าที่เป็นสถานที่พักและเก็บสินค้าหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ จนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายและขนส่งไปยังผู้ที่มีความต้องการ ไม่ว่าจะเพื่อการผลิต หรือจำหน่าย จ่าย แจก หรือขายก็ตาม
โดยภายใน คลังสินค้า ยุคปัจจุบันได้มีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อยกระดับการจัดเก็บ จัดเตรียม และควบคุมมาตรฐานการดำเนินงาน ยกตัวอย่างเช่น รถโฟล์คลิฟต์ (Forklift) สำหรับขนย้ายสินค้าภายในคลัง ชั้นวางพาเลทรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงระบบจัดการพาเลท (Pallet Management System: PMS) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลคลัง เป็นต้น
ทั้งนี้ คลังสินค้า แต่ละแห่งอาจมีฟังก์ชันและกระบวนการจัดเก็บสินค้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางแห่งทำหน้าที่จัดเก็บสินค้าเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อโดยเฉพาะ ส่วน คลังสินค้า อีกแห่งอาจเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง จึงส่งผลให้มีชื่อเรียกต่างกันไปตามจุดประสงค์การใช้งาน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ
คลังสินค้า สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร
คลังสินค้า นับเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นต่อธุรกิจการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกเป็นอย่างมาก เนื่องจาก คลังสินค้า เป็นสถานที่สำหรับการจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วน รวมไปถึงสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต ซึ่งอาจมีจำนวนมากจนพื้นที่โรงงานไม่สามารถรองรับได้ทั้งหมด ดังนั้น คลังสินค้า จึงเป็นทางเลือกที่สร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากโรงงานผลิต
อีกหนึ่งประโยชน์ของ คลังสินค้า คือ เป็นศูนย์กลางในการรับ จัดเก็บ รวบรวม เปลี่ยนถ่าย บรรจุ ขนส่งเข้า-ออก ตลอดจนเป็นจุดรับสินค้าส่งคืน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถมอบบริการด้านต่าง ๆ แก่ลูกค้า เช่น ขนส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมง ติดตามสถานะสินค้า รับเปลี่ยนและแลกคืนสินค้า เป็นต้น เรียกได้ว่าคลังสินค้า เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการผลิต การจัดเก็บ และการกระจายสินค้าที่ธุรกิจปัจจุบันขาดไปไม่ได้เลยทีเดียว
ประโยชน์ของ คลังสินค้า มีอะไรบ้าง
นอกเหนือจากการจัดเก็บ รักษาคุณภาพ และสร้างความปลอดภัยให้แก่สินค้าแล้ว คลังสินค้า ให้ประโยชน์แก่ธุรกิจในด้านอื่น ๆ อีกด้วย อาทิ
สนับสนุนการผลิต
ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก คลังสินค้า และระบบการจัดการคลังเพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิต ในฐานะแหล่งรวบรวมวัตถุดิบ ส่วนประกอบ หรือชิ้นส่วนที่กำลังพักรอเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือประกอบในลำดับต่อไป
เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ
การสร้างหรือเช่า คลังสินค้า มีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ ด้วยพื้นที่ที่รองรับได้ทั้งการสต๊อกสินค้าคงคลังให้พร้อมต่อการตอบสนองคำสั่งซื้อ เป็นพื้นที่พักชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบการผลิต รวมถึงเป็นจุดกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขันธุรกิจ
สร้างความลื่นไหลในกระบวนการบรรจุสินค้า
ธุรกิจสามารถใช้พื้นที่ คลังสินค้า ในการรวมและบรรจุสินค้า พร้อมคัดแยกไว้เป็นหมวดหมู่หรือตามคำสั่งซื้อ เพิ่มความคล่องตัวในการบรรจุสินค้า และดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่าง การขนส่งได้อย่างไร้รอยต่อ
ลดปัญหาด้านพื้นที่จำกัด
ประโยชน์สำคัญของ คลังสินค้า ที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก คือ การเพิ่มพื้นที่สำหรับการจัดเก็บสินค้า ช่วยลดความแออัดในแหล่งต้นทางอย่างโรงงานผลิตที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ และพื้นที่ใช้งานจำกัด นอกจากนี้ ยังสามารถปรับเปลี่ยนสินค้า เช่น ติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบจัดการพาเลท หรืออื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
ประเภทของ คลังสินค้า ที่ควรรู้
เมื่อกล่าวถึงประเภทของ คลังสินค้า สามารถจำแนกได้หลายประเภท อีกทั้งยังมีรูปแบบย่อยที่ใช้เรียกกันอีกด้วย ทั้งนี้ โดยทั่วไป คลังสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักตามลักษณะเฉพาะและหน้าที่ของ คลังสินค้า นั้น ๆ ดังนี้
ประเภท คลังสินค้า ตามลักษณะของธุรกิจ
1. คลังสินค้า สาธารณะ
คลังสินค้า ที่เปิดให้ธุรกิจหรือบุคคลเข้าไปเช่าพื้นที่ โดยอาจใช้บริการร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่ง คลังสินค้า จะกำหนดพื้นที่ที่ธุรกิจสามารถใช้งานได้ภายใน คลังสินค้า นั้น ๆ จึงเป็นรูปแบบ คลังสินค้า ที่เหมาะกับผู้ที่มีจำนวนสินค้าไม่มากนัก หรือเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจและมีงบประมาณจำกัด
2. คลังสินค้า ส่วนตัว
คลังสินค้า ที่เจ้าของธุรกิจจัดสร้างขึ้นเอง เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าหรือดำเนินการต่างๆ ซึ่งประโยชน์ของ คลังสินค้า ส่วนตัว คือ สามารถควบคุมคุณภาพ ต้นทุน รวมไปถึงระบบการจัดการคลังได้อย่างอิสระ
ประเภท คลังสินค้า ตามลักษณะการดำเนินงาน
1. คลังสินค้า แบบศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center: DC)
ทำหน้าที่จัดเก็บสินค้าและยังเป็นศูนย์กลางที่ช่วยเชื่อมโยงธุรกิจผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก โดยจะจัดเก็บสินค้าและทำการจัดส่งให้กับลูกค้าตามความต้องการ หรือก็คือการที่ผู้ให้บริการคลังสินค้าประเภท DC นำสินค้าของผู้ผลิตมาเก็บไว้ในคลัง จากนั้นจึงทำการส่งสินค้าแทนผู้ผลิตไปสู่ร้านค้าปลีก ซึ่งผู้ค้าปลีกไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสต๊อกสินค้าเอง
2. คลังสินค้า แบบศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Cross Dock)
เป็นคลังสินค้าที่ใช้ในการรับและส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน หรืออาจเป็นคลังที่ใช้สำหรับขนถ่ายสินค้าจากพาหนะหนึ่งไปสู่พาหนะอีกหนึ่ง คล้ายกับเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้านั่นเอง และถึงแม้จะคล้ายคลึงกับคลังสินค้าแบบ Distribution Center ในแง่ของการรับสินค้าจากหลายแหล่งมาไว้ที่คลัง แต่ Cross Docking มีข้อแตกต่าง คือ มีระยะเวลาจัดเก็บที่สั้นกว่า เพราะเป็นเพียงสถานที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า โดยไม่มีการเติมสินค้าภายในคลัง
3. คลังสินค้า แบบ Fulfilment Center
คลังสินค้าที่รับสินค้าจากบริษัทในเครือหรือบริษัทอื่นเพื่อนำมาบรรจุแพ็กเกจและจัดส่งสินค้า พร้อมทำหน้าที่เป็นคลังเก็บสินค้าให้กับบริษัทเหล่านั้นด้วย ซึ่งปัจจุบันคลังสินค้าประเภทนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจค้าขายออนไลน์ได้ดี
ประเภทคลังสินค้าตามลักษณะสินค้า
1. คลังสินค้า ทั่วไป
ทำหน้าที่เก็บสินค้าทั่วไป เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ สินค้าสำเร็จรูป หรือสิ่งของสำหรับการอุปโภคบริโภค เป็นต้น
2. คลังสินค้า ของสด
ทำหน้าที่เก็บรักษาของสด โดยมีการควบคุมอุณหภูมิอย่างเหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรักษาความสดใหม่ของสินค้า เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารทะเล ฯลฯ
3. คลังสินค้า อันตราย
คลังสินค้า อันตราย คือ คลังปิดที่จัดเก็บสารเคมี เชื้อเพลิง วัตถุไวไฟ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ โดย คลังสินค้า ประเภทนี้วางระบบการคัดแยกวัตถุอันตรายให้เหมาะสม จัดเก็บตามหลักที่ถูกต้อง พร้อมควบคุมและดูแลมลพิษอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
4. คลังสินค้า พิเศษ
โดยส่วนใหญ่มักเป็น คลังสินค้า ที่มีขนาดเล็ก แต่จัดเก็บสิ่งของที่มีมูลค่าสูง สินค้าที่ต้องคลังประเภทนี้ ได้แก่ เครื่องสำอาง ยา หรือเวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงสารเคมีบางชนิด ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอย่างเหมาะสมด้วย เพื่อคงคุณสมบัติและยืดอายุของสินค้า
จากที่กล่าวมา คลังสินค้า คือหนึ่งในสถานที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจมากมาย ทั้งการจัดเก็บและกระจายสินค้า บรรจุแพ็กเกจ ขนส่งไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค และอื่นๆ ซึ่งช่วยให้การจัดการด้านโลจิสติกส์สะดวกสบายมากขึ้น สร้างโอกาสต่อยอดธุรกิจในอนาคต
สำหรับผู้ประกอบการ คลังสินค้า หรือธุรกิจที่มีคลังเป็นของตัวเอง และต้องการอุปกรณ์คลังสินค้าที่มีคุณภาพ เช่น พาเลทไม้สำหรับเช่า/ซื้อ ชั้นวางพาเลท อุปกรณ์จัดเก็บรูปแบบต่าง ๆ หรือโซลูชันสำหรับจัดการคลัง UPR Thailand พร้อมให้บริการด้วยความยินดี
เกี่ยวกับ UPR Thailand
บริษัท ยูพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดจำหน่ายชั้นวางพาเลท คุณภาพดีจากโรงงานผลิตได้มาตรฐานภายในประเทศ อีกทั้งยังจัดจำหน่ายพาเลทไม้และพาเลพลาสติกสำหรับเช่า/ซื้อ รวมไปถึงอุปกรณ์คลังสินค้าอย่างครบครัน และยังมีบริการโซลูชันด้านโลจิสติกส์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย
พวกเราพร้อมให้บริการที่รวดเร็ว ครอบคลุม และเป็นมืออาชีพด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ในไทย
ติดต่อเรา
กรอกแบบฟอร์ม: www.upr-thailand.co.th/contact/inquiries/
โทร.: +66-2-672-5100
อีเมล: info-thailand@upr-net.co.jp
บริษัท ยูพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด > คอลัมน์ > สินค้าโลจิสติกส์ > คลังสินค้า สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจของคุณ