ชิปปิ้ง คืออะไร? ประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร

หัวข้อ

bird eye view shipping frieght with multiple containers

การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีกฎระเบียบมากมาย “ชิปปิ้ง” (Shipping) เป็นบริการที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการส่งออก นำเข้า ไปจนถึงการบริการด้านศุลกากร ดังนั้น บทความนี้จาก UPR Thailand จะมาพูดถึงการชิปปิ้งว่า คืออะไร มีกี่รูปแบบ แล้วบริษัทชิปปิ้งทำหน้าที่อะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากบริการนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

ชิปปิ้ง คืออะไร

ชิปปิ้ง หรือ Shipping ในความหมายดั้งเดิมหมายถึงการขนส่งสินค้าทางเรือ แต่ในบริบทของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ คำนี้มีความหมายกว้างกว่านั้น โดย “ชิปปิ้ง” หมายถึง บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้า

 

บริษัทชิปปิ้งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หน่วยงานรัฐ คลังสินค้า และผู้ให้บริการขนส่ง โดยรับผิดชอบในการจัดการทุกขั้นตอนของกระบวนการนำเข้าและส่งออก ตั้งแต่การจัดเตรียมเอกสาร การดำเนินเรื่องเกี่ยวกับสินค้ากับกรมศุลกากร ไปจนถึงการจัดการการขนส่งสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ 

 

ชิปปิ้ง มีกี่ประเภท

ชิปปิ้ง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแทนออกของ” สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้ 

1. ตัวแทนออกของทั่วไป (General Shipping)
บริษัทหรือบุคคลที่ได้ยื่นขออนุญาตจากกรมศุลกากรให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินพิธีการศุลกากรและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก โดยตัวแทนประเภทนี้ต้องผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจากกรมศุลกากร เพื่อให้มั่นใจว่ามีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2. ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator: AEO) 
ตัวแทนออกของที่ได้รับการรับรองมาตรฐานขององค์การศุลกากรโลก (WCO) โดยตัวแทนประเภทนี้ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองในด้านต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัยในการจัดการสินค้า ความน่าเชื่อถือทางการเงิน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ทำให้ตัวแทนประเภทนี้ได้รับความไว้วางใจจากกรมศุลกากร และสามารถให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

บทบาทและหน้าที่ของบริษัท ชิปปิ้ง

บริษัทชิปปิ้งทำหน้าที่อะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทชิปปิ้งมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้นำเข้าและส่งออก โดยมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้

การจัดการการขนส่งสินค้า

บริษัทชิปปิ้งจะวางแผนและจัดการการขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง รวมถึงการเลือกเส้นทางและวิธีการขนส่งที่เหมาะสมที่สุด รวมไปถึงการประสานงานกับบริษัทขนส่ง การจองระวางเรือหรือเครื่องบิน และการจัดการเรื่องการบรรจุหีบห่อสินค้า โดยชิปปิ้งจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะเวลา ต้นทุน และความปลอดภัยของสินค้า เพื่อเลือกวิธีการขนส่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละราย

การจัดการเอกสาร

ชิปปิ้งจะเป็นผู้ดูแลเรื่องเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) ใบกำกับสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและการยื่นเอกสารต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินพิธีการศุลกากร

บริษัทชิปปิ้งเป็นตัวแทนหลักในการติดต่อกับกรมศุลกากร เพื่อดำเนินการตามระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการยื่นใบขนสินค้า การคำนวณภาษีอากร และการตรวจปล่อยสินค้า

การให้คำปรึกษา

ชิปปิ้งสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบการนำเข้าและส่งออก รวมถึงวิธีการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า เช่น การแนะนำเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรที่เหมาะสม หรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดในการนำเข้าของประเทศต่าง ๆ

การติดตามสถานะสินค้า

บริษัทชิปปิ้งจะติดตามสถานะของสินค้าตลอดกระบวนการขนส่ง และแจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างสม่ำเสมอ โดยปัจจุบันมีการใช้ระบบติดตามที่ทันสมัยผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน ลูกค้าจึงสามารถทราบตำแหน่งและสถานะของสินค้าได้แบบเรียลไทม์

 

ข้อดีของการใช้บริการ ชิปปิ้ง ต่อธุรกิจ

  • ประหยัดเวลาและทรัพยากร: ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาศึกษาและดำเนินการเรื่องพิธีการศุลกากรที่ซับซ้อนด้วยตนเอง ทำให้สามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจในด้านอื่นได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังช่วยลดความจำเป็นในการจ้างพนักงานเฉพาะทางด้านการนำเข้าและส่งออก ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
  • ลดความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย: บริษัทชิปปิ้งมีความเชี่ยวชาญในกฎระเบียบต่างๆ ช่วยลดโอกาสในการทำผิดพลาดที่อาจนำไปสู่การถูกปรับหรือถูกดำเนินคดี
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ: การใช้บริการชิปปิ้งที่มีชื่อเสียงช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาของคู่ค้าต่างประเทศ โดยบริษัทชิปปิ้งที่มีประสบการณ์นั้นสามารถจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงเวลา และปฏิบัติตามมาตรฐานสากล
  • ได้รับการสนับสนุนเมื่อเกิดปัญหา: หากเกิดปัญหาระหว่างการขนส่ง บริษัทชิปปิ้งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเอกสาร ความล่าช้าในการขนส่ง หรือแม้แต่ภัยทางธรรมชาติ

 

เลือกบริษัท ชิปปิ้ง อย่างไร ให้เหมาะกับธุรกิจ

บริการ ชิปปิ้ง
ปัจจุบันมีบริษัทชิปปิ้งหลายราย ในการเลือกบริษัทชิปปิ้ง ผู้ประกอบการควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ: แนะนำให้เลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ในการจัดการสินค้าประเภทเดียวกันกับของธุรกิจ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้จะมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ เพื่อช่วยให้การนำเข้า-ส่งออกเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ ควรพิจารณาว่าบริษัทมีความเชี่ยวชาญในเส้นทางการค้าที่สนใจหรือไม่ เช่น หากต้องการนำเข้าสินค้าจากจีน ควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์และเครือข่ายในประเทศจีน
  • ใบอนุญาตและการรับรอง: ตรวจสอบว่าบริษัทมีใบอนุญาตที่ถูกต้องจากกรมศุลกากร หรือได้รับการรับรองมาตรฐาน AEO เพื่อเป็นการรับประกันว่าบริษัทสามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย
  • เทคโนโลยีและระบบติดตาม: เลือกบริษัทที่มีระบบติดตามสถานะสินค้าที่ทันสมัย เพื่อให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบความคืบหน้าได้ของการขนส่ง
  • การบริการลูกค้า: พิจารณาความรวดเร็วและคุณภาพในการตอบสนองต่อคำถามและปัญหาของลูกค้า
  • ความโปร่งใสในการคิดค่าบริการ: บริษัทชิปปิ้งที่ดีควรมีความโปร่งใสในการคิดค่าบริการ โดยสามารถอธิบายรายละเอียดของค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ควรระวังบริษัทที่มีค่าใช้จ่ายแฝงหรือไม่สามารถให้รายละเอียดค่าบริการที่ชัดเจนได้

 

สรุป

ชิปปิ้งนับเป็นบริการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจที่ต้องการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบริษัทชิปปิ้ง ผู้ประกอบการสามารถมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาธุรกิจของตนเอง โดยไม่ต้องกังวลกับความซับซ้อนของกระบวนการนำเข้าและส่งออก 

ฉะนั้นการเลือกบริษัทชิปปิ้งที่เหมาะสมเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตและประสบความสำเร็จ โดยควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ทั้งในด้านประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ เครือข่าย เทคโนโลยี และคุณภาพการบริการ 

ส่วนผู้ประกอบการคลังสินค้าหรือธุรกิจที่มีโกดังหรือคลังสินค้า และต้องจัดเตรียมสินค้าก่อนส่งต่อให้ชิปปิ้ง แนะนำให้เลือกใช้พาเลทที่มีคุณภาพ ทนทานต่อการขนส่ง นอกจากนี้ ควรมีระบบจัดการพาเลทที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถทราบถึงสถานะสินค้าคงคลัง สามารถจัดการสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ประกอบการคลังสินค้าหรือธุรกิจที่มีคลังเป็นของตัวเอง UPR Thailand มีพาเลทไม้สำหรับเช่า/ซื้อ ชั้นวางพาเลท อุปกรณ์จัดเก็บรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงโซลูชันสำหรับการจัดการคลัง

 

เกี่ยวกับ UPR Thailand

บริษัท ยูพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดจำหน่ายพาเลทไม้และพาเลพลาสติกสำหรับเช่า/ซื้อคุณภาพดีจากโรงงานผลิตได้มาตรฐานภายในประเทศ อีกทั้งยังจัดจำหน่ายแรค ชั้นวางพาเลท รวมไปถึงอุปกรณ์คลังสินค้าอย่างครบครัน และยังมีบริการโซลูชันด้านโลจิสติกส์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย

บริษัท ยูพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดจำหน่ายพาเลทไม้และพาเลพลาสติกสำหรับเช่า/ซื้อคุณภาพดีจากโรงงานผลิตได้มาตรฐานภายในประเทศ อีกทั้งยังจัดจำหน่ายแรค ชั้นวางพาเลท รวมไปถึงอุปกรณ์คลังสินค้าอย่างครบครัน และยังมีบริการโซลูชันด้านโลจิสติกส์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย

พวกเราพร้อมให้บริการที่รวดเร็ว ครอบคลุม และเป็นมืออาชีพด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ในไทย

 

ติดต่อเรา

กรอกแบบฟอร์ม: www.upr-thailand.co.th/contact/inquiries/

โทร.: +66-2-672-5100

อีเมล: info-thailand@upr-net.co.jp

บริษัท ยูพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด > > สินค้าโลจิสติกส์ >

ลงทะเบียน ติดต่อเรา